วันนี้ (9 ธ.ค. 64) เวลา 08:00 น. ที่หอประชุมนเรศวร โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม อ.เมือง จ.พิษณุโลก นายพิศิษฐ์ กิจบุญอนันต์รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานพิธีมอบหนังสือพระราชทานสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เล่ม 42 ให้แก่โรงเรียน 201 โรงเรียนเพื่อใช้ในการศึกษา โดยทรงมอบให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดในฐานะประธานกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ไปสู่จังหวัดต่างๆ เพื่อมอบให้กับโรงเรียนในพื้นที่ ให้นักเรียนได้เข้าถึงสารานุกรมฯ ได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึงตามพระราชปณิธาน มีโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี โรงเรียนท่าทองพิทยาคม โรงเรียนวัดยางเอน(ประชานุเคราะห์) และโรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออก ร่วมจัดนิทรรศการ
หนังสือชุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ถือกำเนิดขึ้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่มีพระราชประสงค์จะให้มีหนังสือที่จะรวบรวมความรู้แขนงต่างๆ สำหรับพสกนิกรได้มีโอกาสอ่านและศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งได้ริเริ่มดำเนินการในปีพุทธศักราช 2511 โดย พลโท พระยาศัลวิธานนิเทศ รับสนองพระราชประสงค์เกี่ยวกับการจัดทำหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยได้รับพระราชทานเงินจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นทุนในการจัดทำและได้ดำเนินงานมาจนถึงพุทธศักราช 2562 และต่อมาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เปลี่ยนสถานะเป็นมูลนิธิ โดยใช้ชื่อว่า "มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร" และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เงินและทรัพย์สินของโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เป็นทุนเริ่มแรก ในการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ ทั้งยังมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ที่ปรึกษา และมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย เป็นประธานโครงการฯ
ลักษณะพิเศษของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน มีลักษณะพิเศษหลายประการ ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คือ หนังสือชุดนี้จัดทำโดยคนไทยเพื่อให้คนไทยอ่าน เรียบเรียงเรื่องมี 8 สาขาวิชา คือ 1 สาขามนุษยศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม 2 สาขาศึกษาศาสตร์ 3 สาขาสังคมศาสตร์ 4 สาขาเกษตรศาสตร์ 5 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ 7 สาขาแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข และ 8 สาขาวิศวกรรมศาสตร์ โดยเนื้อหาสาระในแต่ละเรื่องให้ความรู้ ความเข้าใจ มีความเชื่อมโยงกัน และแบ่งเนื้อออกเป็น 3 ส่วนแตกต่าง